5 มหาเจดีย์เมืองพุกาม


พุกาม (Bagan) เมืองทะเลเจดีย์ ดินแดนแห่งเจดีย์สีพันองค์ ในสมัยก่อนเคยมีเจดีย์มากมายถึง 4,446 องค์ ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 2,217 องค์



เจดีย์ที่พุกามจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ
    แบบแรก คือเจดีย์หรือสถูปเจดีย์ (Pagoda / Stupa)
ชาวเมียนมาร์เรียกว่าเซดี (Zedi) จะมีรูปทรงตันๆ เดินเข้าไปด้านในไม่ได้
    แบบที่ 2 คือเจดีย์วิหาร (Temple) หรือที่ชาวเมียนมาร์เรียกว่าพญา (Phaya/ Phya) จะมีทรงคล้ายๆ ปราสาทที่สามารถเดินเข้าไปด้านในได้ ที่เรียกว่าคูหาหรือชาวเมียนมาร์เรียกว่ากู่
มีไว้สำหรับประกอบศาสนพิธีหรือประดิษฐานพระพุทธรูป

5 มหาเจดีย์ ของพุกาม 

1. ใหญ่ที่สุด คือ เจดีย์วิหารธรรมยางจีวิหาร (Dhammayangyi)
2. สูงที่สุด คือ วัดสัญพัญญู (Thatbyinnyu Phaya Temple)
3. สวยที่สุด คือ อานันทวิหารหรือเจดีย์วิหารอนันดา (Anandaphaya)
4. เก่าที่สุด คือ  เจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Paya )
5. มีภาพวาดเก่าที่สุด คือ Gubyaukgyi temple

 เจดีย์วิหารธรรมยางจีวิหาร (Dhammayangyi)

เจดีย์วิหารธรรมยางจี (Dhammayangyi) เป็นเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่และแข็งแรงที่สุดในพุกาม เริ่มจากสมัยของพระเจ้าอลองสิทธู กษัตริย์ลำดับที่ 4 ของกรุงพุกาม ผู้มีพระโอรสสองพระองค์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับเจดีย์วิหารธรรมยาจีแห่งนี้

นั้นคิอเจ้าชายมินชินซอ ผู้พี่ และเจ้าชายนรสุ ผู้น้อง ในสมัยที่พระเจ้าอลองสินธูได้ชราภาพลงมากแล้ว ท่านได้รับธิดาเจ้าเมืองปัทไทกยะ(อยู่ในลังกา คนพุกามสมัยนั้นจะเหมารวมเรียกว่าเป็น อินเดีย) มาเป็นมเหสีเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้สร้างความไม่พอใจ
ให้กับเจ้าชายมินชินซอผู้พี่เป็นอย่างมาก ถึงขนาดทำทุกวิถีทางขัดขวางเรื่องนี้ จนเกิดเป็นความหมางเมินระหว่างพระบิดากับโอรสตั้งแต่นั้นมา เหตุการณ์หลายต่อหลายเรื่องบานปลายจนพระบิดาคิดว่าพระโอรสจะคิดกบฏ จึงเนรเทศเจ้าชายมินชินซอ
ให้ไปอยู่ที่หัวเมืองฝ่ายเหนือ

หลังจากนั้นองค์อลองสินธูทรงประชวนถึงขั้นหมดสติ พระโอรสองค์รอง เจ้าชายนรสุคิดว่าพระบิดากำลังจะสวรรคต จึงนำร่างของท่านไปไว้ที่วิหารชเวกุกยี แต่พระเจ้าอลองสินธูกลับฟื้นขึ้นมา จึงทรงกริ้วและเรียกเจ้าชายนรสุเข้าเฝ้าว่าเหตุใดจึงทำเรื่องโดยพลการเช่นนี้ เจ้าชายเห็นว่าพระบิดาทรงกริ้วมาก จึงกระทำการเอาผ้าคลุมเตียงมาอุดพระนาสิกจนสวรรคต จากนั้นพระองค์ก็ขึ้นครองราชเป็นกษัติย์

เมื่อเจ้าชายผู้พี่ทราบเรื่องเช่นนั้น ก็ตั้งกองทัพเพื่อลงมาทวงคืนบันลังค์ กษัตริย์ผู้น้องเห็นท่าไม่ดี จึงไปเกลี่ยกล่อมให้พระสังฆราชในสมัยนั้นช่วยเจรจา ด้วยองค์พระสังฆราชเองเป็นพระป่าที่เคร่งครัด จึงไม่ทันอุบายเล่ย์กลของราชสำนักเท่าไรนัก
เมื่อเห็นกษัตริ์นรสุทรงแสดงเจตนาชัดเจนที่จะเจรจาและยอมยกราชบันลังค์คืนให้กับพี่ชายที่เป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 สมเด็จพระสังฆราชจึงยอมเป็นผู้ไปชักชวนให้เจ้าชายมินชินซอผู้พี่กลับเข้าราชสำนักโดยไม่ต้องรอกองทัพ เมื่อเสด็จเข้ามาในเมือง
เจ้าชายผู้น้องก็ทำพิธีเฉลิมฉลองและแต่งตั้งพระเชษฐาให้เป็นกษัติย์ และชักชวนให้เสวยอาหารพิเศษ ซึ่งอาหารพิเศษนั้นใส่ยาพิษเอาไว้ ทำให้เจ้าชายมินชินซอผู้พี่สวรรคตอีกองค์หนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชทราบเรื่องก็ทรงเสียพระทัย กริ้วและทรงประท้วง
แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้ จึงเสด็จหนีไปลังกา

เจ้าชายนรสุจึงได้เป็นกษัตริย์สมใจหมาย แต่ทว่า การขึ้นครองราชของพระองค์เป็นที่รังเกียจและโกรธแค้นของประชาชน พระเจ้านรสุทรงสำนึกผิดถึงการกระทำของตัวเองที่กระทำต่อพระบิดาและพระเชษฐา จึงดำริสร้าง เจดีย์วิหารธรรมยาจี เพื่อไถ่บาปในครั้งนี้ โดยพระองค์จะทรงต้องการสร้างให้ใหญ่ที่สุดในพุกาม และสร้างให้งดงามที่สุด การก่อสร้างด้วยอิฐแดงนี้ เป็นที่เล่าลือจนถึงปัจจุบันว่า การเรียงอิฐของเจดีย์แห่งนี้ ช่างต้องเรียงอิฐให้แนบชิดกันมากที่สุด ขนาดที่เข็มเล่มหนึ่งก็สอดผ่านไม่ได้ แต่หากสามารถสอดเข็มได้แล้ว ช่างผู้นั้นก็ถึงกาลชะตาขาด ถูกตัดแขน และประหารในที่สุด เจดีย์แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยคราบน้ำตาและความโกรธแค้นเกลียดชังเพิ่มเท่าทวีคูณ และดูจะเป็นการสร้างบาปเพิ่มมากกว่าไถ่บาป

พระเจ้านรสุนั้น ด้วยพระองค์ก่อกรรมทำเข็นก้บผู้คนเอาไว้มาก พระองค์จึงหวาดระแวงและไม่เป็นสุขกับชีวิต ทรงประหารผู้คนที่พระองค์คิดว่าเป็นอริกับพระองค์มากมาย และทรงขังตัวเองอยู่แต่ในวัง ทั้งนี้ พระองค์ได้แต่งตั้ง เจ้าหญิงแห่งเมืองปัทไทกยะขึ้นเป็นมเหสี แต่ทว่าพระนางทรงรังเกียจพระองค์ที่มีนิสัยชั่วช้าเป็นฆาตกร จึงมิให้พระองค์เข้าใกล้ สร้างความพิโรธให้กับพระองค์มาก ถึงกับฆ่าพระนางตายคาพระหัตถ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ สร้างความโทมนัสให้กับพระบิดากษัตริย์แห่งปัทไทกยะของพระนางมาก จึงส่งคนมาลอบปลงพระชนต์พระเจ้านรสุ ด้วยการปลอมเป็นพราหมณ์มาถวายพระพร แต่กระทำการปลงพระชนต์แทนจนสำเร็จ และฆ่าตัวตายทั้งคณะไม่ให้ทหารพม่าจับกุมได้ นับแต่นั้นมา พระเจ้านรสุ จึงเป็นกษัตริย์ที่ถูกเรียกขานต่อกันมาว่า พระเจ้ากลักยามิน หรือ กษัตริย์ผู้ถูกชาวอินเดียฆ่า


 วัดสัญพัญญู (Thatbyinnyu Phaya Temple)

     ตะบินยูพญา จึงหมายความว่า “มหาวิหารแห่งความรอบรู้” เป็นวิหารขนาดใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็น “วิหารที่สูงที่สุด” ในพุกาม
สัพพัญญูวิหาร” หรือสำเนียงพม่าว่า “ตะบินยู” เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้รู้ทุกอย่าง

“ วัดสัพพัญญูู” จัดเป็นวัดที่สูงที่สุดในเมืองพุกาม(61 เมตร) ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมือง ถือเป็นแม่แบบของสถาปัตยกรรมพม่า พระเจ้าอลองสิทธู (King Alongsithu) ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นในกลางศตวรรษที่ 12 รูป ทรงคล้ายวัดอนันดาแต่แผนผังยาวกว่าด้านอื่นๆ ตัววิหารชั้นบนนั้นสร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ด้านใน “กลวง” ซ้อนอยู่ บนวิหารชั้นล่างที่มีขนาดใหญ่กว่า นับเป็นเอกลักษณ์ของวัดพม่าโดยเฉพาะ ต่างจากวัดมอญที่นิยมสร้างเป็นวิหารชั้นเดียว แกนกลางชั้นล่างนั้นก่อเป็นแกนทึบเพื่อเป็นฐานรากรองรับโครงสร้างของวิหารชั้นบนซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน องค์พระหันหน้าไปทางทิศตะวันออกวิหารแต่ละชั้นมีหน้าต่างสองแถวซ้อนกัน ทำเป็นซุ้ม ภายในจึงสว่างและมีลมพัดผ่านเข้ามาได้ วิหารสองชั้นแรกเคยเป็นที่พำนักของบรรดาพระภิกษุ ชั้นสามเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ชั้นสี่ทำเป็นหอพระไตรปิฏก ส่วนยอดที่ทำเป็นสถูปองค์ปรางค์นั้นใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถ้าต้องการขึ้นไปชั้นบนต้องใช้บันไดด้านในขึ้นไปยังลานทักษิณชั้นบนสุดสามชั้นที่รองรับปรางค์ยอดสิงขรและองค์สถูป มองออกไปจะเห็นวัดอนันดาและ ทิวทัศน์อันงดงามตระการตา


อานันทวิหารหรือเจดีย์วิหารอนันดา (Anandaphaya)

Ananda Phaya : The most beatiful TEMPLE in Bagan   ความน่าสนใจของที่นี่อยู่ที่วิหารซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในพุกาม มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ด้าน แผนผังเหมือนไม้กางเขนแบบกรีก ส่วนที่หน้าทึ่งของวิหารแห่งนี้ก็คือ ช่างได้ทำการส่องแสงสว่างเข้าไปในวิหารเจาะให้ตรงองค์พระประธาน.
   อานันทวิหาร คือมหาวิหารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมืองพุกาม ประเทศพม่า เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1633 แล้วเสร็จในปีต่อมา ในรัชกาลพระเจ้าจานสิตา มีความสำคัญในฐานะได้รับการยกย่องว่าเป็น "เพชรน้ำเอกของพุทธศิลป์สกุลช่างพุกาม" เมื่อก่อนยอดพระเจดีย์ยังเป็นสีขาวเหมือนกับพระเจดีย์องค์อื่นๆ ของพุกาม แต่รัฐบาลพม่าได้มาทาสีทองทับเมื่อปี พ.ศ. 2533 เพื่อสมโภชการสร้างอานันทวิหารครบรอบ 900 ปี อานันทวิหารเป็นพระเจดีย์ที่สามารถเดินเข้าไปข้างในได้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่น 4 ทิศ ประตูทางเข้าเป็นประตูโค้ง (arch) ที่มักพบเห็นในสถาปัตยกรรมตะวันตกมากกว่าตะวันออก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนไม้ปิดทอง สี่ทิศ สี่องค์ สูง 9.5 เมตร ประกอบด้วย


4. พระโคตมพุทธเจ้า ประจำทิศตะวันตก (สร้างใหม่)
1. พระกกุสันโธพุทธเจ้า ประจำทิศเหนือ (องค์เดิม แท้จริงแล้วประจำทิศตะวันออก)
2. พระโกนาคมนพุทธเจ้า ประจำทิศตะวันออก (สร้างใหม่)
3. พระกัสสปพุทธเจ้า ประจำทิศใต้ (องค์เดิม)
4. พระโคตมพุทธเจ้า ประจำทิศตะวันตก (สร้างใหม่)

เจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Paya )

มหาเจดีย์ชเวสิกอง(Shwezigon Paya ) เจดีย์ทองเรืองรอง ณ ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดีตอนบน เขตเมืองพุกาม อาณาจักรแรกที่ชนชาติพม่ายิ่งใหญ่ขึ้นในลุ่มน้ำนี้เมื่อกว่า 900 ปีก่อน พระมหาธาตุเจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Pagoda) เป็นเจดีย์ใหญ่ สวยงาม ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศพม่าโดยชื่อ "ชเวสิกอง" มีหมายความว่า "เจดีย์ทองแห่งชัยชนะ" (ชเว = ทอง) สร้างโดย พระเจ้าอโนรธามังช่อ แต่แล้วเสร็จในรัชกาลพระเจ้าจานสิตาแห่งอาณาจักรพุกาม ภายในเจดีย์เชื่อว่าบรรจุพระเขี้ยวแก้วและพระสารีริกธาตุ โดยอัญเชิญมาจากลังกา บนหลังช้างเผือก พระเจ้าอโนรธามังช่อได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าช้างเผือกคุกเข่าลงที่ใด จะสร้างเจดีย์ไว้ที่นั่น

จุดที่สร้างเจดีย์ เกิดจากช้างเสี่ยงทายของพระเจ้าอโนรธาเดินมาหยุดอยู่ ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี จึงเฉลิมนาม ชเวสิกองหรือในสำเนียงพม่าว่า ชเวซีโข่งแปลตรงตัวว่าเจดีย์ทองบนพื้นทรายเจดีย์ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพม่าที่มีเหนือมอญ และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธาในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ที่สำคัญคือเป็นเจดีย์บรรจุพระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวพม่าจึงนับถือเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสูงสุดในจิตใจ


มหาเจดีย์ชเวสิกอง บรรจุพระธาตุสำคัญ 3 ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้วที่กษัตริย์แห่งศรีลังกาได้นำมาถวาย พระธาตุกระดูกไหล่ ที่นำมาจากเมืองศรีเกษตร (ใกล้เมืองแปร)
และพระธาตุพระนลาฏ (หน้าผาก) นอกจากนี้ที่นี่ยังประกอบไปด้วย "นัต" 37 ตน (เทพ ภูติ ผี) ที่คอยปกปักษ์รักษาที่แห่งนี้
ที่น่าสนใจคือบริเวณลานหน้าบันไดทางขึ้นสู่เจดีย์ทิศตะวันออก มีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ลึก 2 นิ้ว ใส่น้ำไว้สำหรับนั่งคุกเข่ามองเงายอดเจดีย์ที่สะท้อนลงผิวน้ำ หลุมนี้ทำขึ้นใหม่เมื่อมีการเทปูนที่ลานรอบองค์เจดีย์
แต่ชาวพม่าเล่าขานว่าตรงจุดนี้เคยมีหลุมมาตั้งแต่สมัยพุกามแล้ว
เจดีย์ชเวสิกองมีความอัศจรรย์ 9 ประการของพระมหาธาตุชเวสิกอง คือ

1.       ยอดพระเจดีย์ไม่มีการใช้เหล็กเสริม
2.       กระดาษห่อแผ่นทองคำเปลวที่นำไปปิดส่วนยอดพระเจดีย์ จะไม่ปลิวพ้นฐานสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์
3.       เงาพระเจดีย์จะไม่ล้ำออกนอกฐานสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์ (ถ้าเงาล้ำออกไป ถือว่าเป็นลางร้าย)
4.       ภายในเขตองค์พระเจดีย์ สามารถรองรับผู้แสวงบุญได้ไม่จำกัดจำนวน (ไม่เคยเต็ม)
5.       มีการให้ทานด้วยข้าวสุกร้อน ๆ ทุกเช้า (ไม่ว่าเราจะตื่นเช้าสักเพียงใด จะพบข้าวสุกในบาตรอยู่ก่อนหน้าเราเสมอ)
6.       เมื่อตีกลองใบใหญ่จากด้านหนึ่งของพระเจดีย์ จะไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากด้านตรงข้าม
7.       แม้พระเจดีย์จะตั้งอยู่บนพื่นราบ แต่เมื่อมองจากภายนอก จะเกิดภาพลวงตาคล้ายพระเจดีย์ตั้งอยู่บนที่สูง
8.       ไม่ว่าฝนจะตกหนักเพียงใด จะไม่มีน้ำฝนขังอยู่ในอาณาเขตขององค์พระเจดีย์
9.       มีต้นพิกุล (Khaye หรือ Chayar) ซึ่งจะออกดอกตลอดทั้งปี (ปรกติจะออกปีละครั้ง


วัดกุบยางกี Gubyaukgyi temple

วัดกุบยางกี (Gubyaukkyi Temple) สร้างโดยพระโอรสของพระเจ้าจันสิทธะ ที่โดดเด่นด้วยภาพจิตกรรม ฝาผนัง ที่งดงามที่สุดในพุกาม และยังคงหลงเหลืออยู่
เนื่องจาก รัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาร์ ไม่อนุญาตให้นำกล้องบันทึกภาพเข้าไปภายใน วิหาร หรือ พระเจดีย์ ด้วยเกรงว่าแสงจากแฟลชจะทำลายภาพภายในให้เสียหาย ดังนั้นจึงไม่สามารถบันทึกภาพจิตรกรรมที่เขากว่ากันว่า สวยงาม และ ทรงคุณค่าทางศิลปะ